วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

21 - สื่อสนใจช่วย เรื่องหมายเลขโทรศัพท์?

เราไม่มีตำราไวยากรณ์ภาษาไทย?
ตอบ: ไม่มี
เหตุผล: ไม่ทราบ แปลก

เราเลิก และลืมการใช้เครื่องหมายเว้นวรรคสั้น และยาว ในภาษาไทยแล้วหรือ?
ตอบ: ใช่
เหตุผล: ไม่ทราบ น่าจะเป็นเพราะราชการ และสื่อ ไม่ร่วมช่วยกัน
เสียดายมาก ที่เอกลักษณ์นี้ ที่ช่วยคนไทยทุกคนได้มาก ต้องสลายหายไป
======================

Post ก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับรูปแบบของหมายเลขโทรศัพท์ ที่ทำให้ยากในการใช้, จำ และบอก.
บางคนอาจเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กมาก!
แต่ก็เป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า คนไทย ชอบให้จูง เราน่าจะทำดี เพื่อส่วนรวม

ครั้งนี้ขอเอ่ยถึงเรื่องหมายเลขโทรศัพท์ต่ออีก
อยากให้เราปรับปรุง เพื่อให้เราคนไทยด้วยกัน มีวินัย ในการใช้ภาษา ให้สะท้อน มีวินัยในเรื่องอื่นที่สำคัญ

เราไม่ควรใช้อักขระ - แทนคำว่า ถึง เช่น 02-777-7777-85
เพราะว่า กลายเป็นว่า - มีความหมายได้ 2 อย่าง และทำให้สับสน ต้องคิด (แม้เพียงเสี้ยวของเสี้ยววินาที) แต่ก็เป็นเรื่องที่ชี้ว่า คนไทยมีความคิดว่า "อย่างไรก็ได้" ที่ถูกแล้วต้องมีวินัย บ่มเพาะเรื่องนี้ในเด็ก โตขึ้นก็เป็นผู้ใหญ่ที่ดี ทำให้สะท้อนไปเรื่องอื่น

ขอเสนอว่า ควรเปลี่ยน - ที่แทน "ถึง" เป็น อักขระอื่น เช่น >
ดังนั้น ตัวอย่างจึงเป็น 02-777-7777>85
ข้อดีอีกคือ ชาวต่างชาติจำนวนมากมายที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย จะได้เข้าเรื่องนี้ได้สะดวกขึ้น



วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

20 - หมายเลขโทรศัพท์ปัญญาอ่อน? ตอบ: ไม่ใช่หมายเลข

ทีวีไทย (ThaiPBS.or.th) ครับ ท่านช่วยนำเป็นตัวอย่างได้หรือไม่?

========
เพื่อประโยชน์ของชาวไทย โดยเฉพาะผู้ชรา และเด็กเล็ก ในยามคับขัน ขอจับประเด็น "หมายเลขโทรศัพท์" และคนไทย

จุดประสงค์คือ เพื่อให้ ประโยชน์กลับคืน อีกทั้งความสะดวกด้วย คือ ให้รูปแบบการเขียนหมายเลขโทรศัพท์เป็นแบบที่จำง่าย เช่น 02-580-2167, 081-117-0105 แทนที่จะเป็นแบบที่ใช้กันมาก แม้โดยราชการ คือ 0-2580-2167 หรือ 08-1117-0105

เรื่องนี้ยาวสักหน่อย และใช้ความคิด แต่ดูเป็นเรื่องเล่นสำหรับหลายคน
หากท่านสามารถตระหนักถึงความสำคัญ ผมขอเรียกท่านว่า "มีวุฒิภาวะที่ดี และเข้าใจสังคมส่วนรวม"

หากท่านอยู่ในวัยหนุ่มสาว เป็นไปได้ที่ท่านเห็นว่าเรื่องนี้เล็ก เพราะสมองท่านยังดี
หากท่านไม่ได้อยู่กับผู้ใหญ่วัยชรา บุพการี ท่านอาจเห็นเป็นเรื่องเล็ก
บุพการีต้องการโทรเรียกตำรวจ เรียกรถพยาบาล สายตาก็แย่ อ่านตัวเลขได้ยาก เหตุการณ์นี้เป็นไปได้หรือไม่?

ขอเริ่มเรื่องด้วยการยกตัวอย่างว่า ที่ชี้ว่า สิ่งที่ทำง่าย คือสิ่งที่นิยม มีประโยชน์ สำคัญ. ใครทำเรื่องง่าย ให้เป็นเรื่องยากได้ เก่ง.

ก่อนอื่นขอเอ่ยถึงผู้เริ่มความเห็น เรื่องหมายเลขโทรศัพท์ ที่ผมได้อ่านแล้วรู้สึกตรงใจมาก ที่ท่านสละเวลาส่วนตัว เพื่อส่วนรวม เขียนเป็นบทความใส่ความคิด และเหตุผล ให้เราได้อ่านกัน ผมได้ชื่อท่านจากบทความ ผมขอยกย่องท่าน. ชื่อ กลุ่ม และสังกัด คือ "ดร. เมธาวุฒิ พีรพรวิทูร" กลุ่มปฏิรูปการบริการภาครัฐและสังคม “หิ่งห้อย” คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผู้เขียนบทความ "เอาหมายเลขโทรศัพท์ปัญญาอ่อนคืนมา" สนใจอ่านบทความของท่าน ซึ่งพบได้ใน web หลายแห่ง คลิ๊ก.
เช่น ที่นี่

ผู้ใหญ่มีอาการหลงลืม จำยาก ลืมง่าย ยิ่งมีตัวเลขมากให้จำ ยิ่งยาก.
เด็กเล็กก็สมองยังไม่พัฒนาเต็มที่ ก็ได้รับผลเดียวกัน ในการที่ต้องจำเลขหลายหลัก.

ครั้งหนึ่งเป็นข่าวดัง เมื่อเด็กเล็กคนหนึ่งใน U.K. สามารถโทรศัพท์โทรเลขฉุกเฉิน 3 ตัว เพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อแม่ตนเองไม่สบายหนัก และจบด้วยการช่วยชีวิต.

โชคดีที่ทุกประเทศทั่วโลกมีความเห็นเหมือนกันว่า หมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุฉุกเฉิน ให้เป็นตัวเลขน้อยคือ 3 หรือ 4 ตัว รวมทั้งไทยเราที่เลือกปฏิบัติตาม และใช้เลขเดียวกัน เพื่อความเป็นสากล เพื่อชาวต่างชาติ และเพื่อส่วนรวม. นี่คือตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้ เรื่องยากไม่เกิดขึ้น.

(1) ลองคิดดูหากเราต้องจำตัวเลขของหมายเลขฉุกเฉิน ให้ต้องจำ!
ท่านต้องใช้ความคิด และต้องการเวลาเพิ่ม?

(2) หากรหัสไปรษณีย์มีจำนวนหลักเท่าหมายเลขโทรศัพท์?
ท่านต้องใช้ความคิด และต้องการเวลาเพิ่ม?

(3) หากรูปแบบการเขียนเวลาเปลี่ยนไป เช่น เวลาเที่ยงวัน เขียนเป็น 120-0?
ท่านต้องใช้ความคิด และต้องการเวลาเพิ่ม?

(4) หากการเว้นวรรคในภาษาเปลี่ยนไป เช่น ผมไม่ช อบบ ริษัททีโ อที พวกเ ขาทำเ พื่อส่ว นตั วมา กไป ขาดหั
วใจใ ห้บริก าร
ท่านต้องใช้ความคิด และต้องการเวลาเพิ่ม?

รหัสพื้นที่ของหมายเลขโทรศัพท์ของกรุงเทพ และปริมณฑลคือ 02
รหัสพื้นที่อื่นเป็นเลข 3 หลัก เช่น
053 เป็นของพื้นที่เชียงราย-เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน-ลำพูน
044 " - " ชัยภูมิ-นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์
038 " - " ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง
เมื่อท่านต้องจำ ต้องจด หรือบอกหมายเลข ท่านก็แบ่งกลุ่มตัวเลข
ทำให้สะดวกในการใช้หมายเลข

หากหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มต้นด้วย 081 โอกาสสูงมากที่จะเป็นหมายเลขในเครือข่ายของค่ายผู้ให้บริการรายหนึ่ง และถ้าหมายเลขเป็น 089 ก็น่าจะเป็นอีกค่ายหนึ่งอย่างมาก เหล่านี้คือ สิ่งที่ท่านจำได้ และช่วยให้จำ หรือบอกหมายเลขให้ผู้อื่นได้ง่าย

ในทำนองเดียวกัน เมื่อหมายเลขโทรศัพท์วางรูปแบบให้จำยาก คือแยกเลขในรหัสพื้นที่ออกจากกัน ผลคือ เกิดส่วนลบขึ้น ไม่ทราบว่าท่านคิดออกหรือไม่?
ประเด็นหลักคือ เมื่อแยกรหัสฯออกไป ก็ยากขึ้น

แท้ที่จริงแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า คนไทยมีพื้นฐาน ไม่แสดงความเห็น ทำตามผู้อื่น หรือไม่? เป็นลักษณะเด่น เพื่อนำชาติ?

ทำไมส่วนรวมต้องเดือดร้อน?

เราควรเปลี่ยนรูปแบบเขียนให้ง่ายขึ้น เพราะเขียนแบบดังต่อไปนี้ใช้เวลานานในการอ่าน
0-27777777



นายเค


====
ชมความเห็นเรื่องนี้ ที่หลากหลายได้
http://topicstock.pantip.com/

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

19 - เห็นด้วยต่อการคุมเข้มสื่อ ให้เหมือนจีน

เห็นด้วยครับที่น่าจะมีกฎเหล็กคุมเข้มสื่อ ที่ชี้นำสังคม
ลองดูของ BBC ที่ U.K. แต่งตัวโป๊ก็ไม่มี ชี้นำให้ประพฤติไม่ดีก็ไม่มี แต่มีสอนให้วางตัวอย่างไรจึงทันสังคม (ของไทย ละครมีแต่เรื่องเดิมแนวเดิม เช่น ฝนตกหลบในกระท่อมกัน, สะดุดเข้าอ้อมกอด ได้หอม - ได้จูบ, แถมเดี๋ยวนี้มาเรื่องชู้สาวเยอะ)
- เด็กไทยตามสื่อเป็นจริงแน่ มิฉะนั้นการตามแฟชั่น จะตามใครได้!
- ธุรกิจ และเงิน ทำให้สังคมเป็นเช่นนี้
- มีเด็ก วัยรุ่นสักกี่คนที่ฉลาดล้ำกว่าทั่วไป

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

18 - การฝังเข็มดีจริง แต่รายการบุษบาบานเช้า อ้างเกินจริง

การรักษาแบบฝังเข็มดี แต่เกินจริงไปบ้าง
เช้าวันพุธที่ 13 พค. 2552 รายการบุษบาบานเช้า, สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 นำเรื่อง "การฝังเข็ม (acupuncture)" มาให้ความสำคัญ. ปัญหาคือ สื่อถึงผู้ชมด้วยเรื่องไม่จริง นั่นคือ อ้างทำนองว่า องค์การอนามัยโลก (World Health Organization / WHO) ได้ให้การรับรองว่าการรักษาด้วยการฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้มากกว่า 460 ชนิด. ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น การนำเสนอโดยไม่ระวัง ถูกมองได้ว่าทั้งผิดจรรยาบรรณ และได้ประโยชน์จากโรงพยาบาลหัวเฉียวที่ได้ผลดีโดยตรง โดยมี รำเพย ฤางามวงศ์ (สะกด!) และแพทย์ชาวจีนร่วมรายการ และให้ข้อมูล.

อย่า ลืมว่า ยา และวิธีที่บอกต่อกันมาว่าได้ผลในการรักษานั้น มีโอกาสเป็นจริงเฉพาะกับผู้ป่วยบางราย โดยอาจได้ผลน้อยมาก เพียงแต่ว่า กล่าวถึงเฉพาะผู้ที่ดีขึ้น ไม่รวมผู้รับยา หรือวิธีการดังกล่าวทั้งหมด. หากรวมแล้วอาจเห็นชัดว่า ไม่ได้ผล ก็ได้. อีกประการหนึ่งคือ ท่านต้องระลึกว่า ผู้ป่วยที่มิได้รับยา หรือการรักษาใดเลย ก็มีอาการดีขึ้นได้. ดังนั้น การพิสูจน์ว่า ยา หรือวิธีการใด ได้ผลทางการแพทย์หรือไม่ ต้องใช้สถิติ และต้องเป็นการวิจัยเปรียบเทียบ กับกลุ่มควบคุม ซึ่งคือกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (บอก/แสดงให้คนในกลุ่มควบคุมเชื่อว่า ได้รับยาจริง) มิฉะนั้นอาจเข้าใจผิดแบบตรงข้ามได้ง่าย.

ก่อนกลับเข้าเรื่องการฝัง เข็ม ขอเพิ่มเติมเรื่องที่ท่านควรตระหนัก. ตามกฎหมายแล้ว ห้ามการโฆษณายาใด ว่าสามารถรักษาโรคมะเร็ง, เบาหวาน, ความดัน, ไต, ตับ, สมอง ฯ ไม่ว่าโดยวิธีการใดที่เป็นการโฆษณา เพราะมีการหลอกเพื่อผลทางธุรกิจกับมากมายทั่วประเทศ และยังคงมีอยู่. ยิ่งไปกว่านั้น ยังใส่สารสเตียรอยด์ (steroid) ในยาผิดกฎหมายเหล่านั้น ซึ่งผลคือ ผู้รับยา (ซึ่งมีทั้ง ยาหม้อ, ยาจีน, ยาผีบอก, ยาชุด, ฯ) รู้สึกดีเร็ว แต่เป็นแก้ที่ปลายเหตุ คือ steroid มีผลต่อความรู้สึก การรับรู้ แต่ต้นเหตุของโรคมิได้ดีขึ้น และ steroid ยังเป็นอันตรายถึงชีวิต หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่อง.


ข้อสรุปของ WHO เกี่ยวกับการฝังเข็มจาก
อ่านรายละเอียดชื่อโรคที่เกี่ยวข้องกับการฝังเข็ม ได้ที่นี่

Ref: http://apps.who.int/medicinedocs/collect/medicinedocs/pdf/s4926e/s4926e.pdf

=====
ข้อดีของการฝังเข็ม
- ง่าย
- สะดวก
- ผลข้างเคียงน้อย (few contraindications)
- จัดหาได้ดี
- เรียนรู้ และปฏิบัติได้ (availability and practicability of acupuncture)


จุดเด่นประการหนึ่งของ acupuncture คือ เหมาะในการรักษา นิ่วในไต (kidney stone) เพราะสรุปอย่างชัดเจนว่าได้ผลดีพอกับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด. ดังนั้น เหมาะในการรักษา เพราะความสะดวก ซึ่งดีต่อผู้ป่วย.

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

17 - รายงานข่าวกีฬาให้สนุก!

อยากเห็นการรางานข่าวกีฬาให้สนุก...
คือ มีลุ้น ว่าลูกที่ยิง เข้าหรือไม่

น่าจะเรียกผู้ชมได้มากกว่า
ผู้ชมตื่นเต้น และได้อารมณ์มากกว่า
ที่รายงานไปก่อน แล้วภาพถึงมา เหมือนปกติทุกวันนี้ กับทุกช่อง

ก็กลายเป็นไม่ต้องลุ้น
เหมือนดูเทปการแข่งขันกีฬา ถ้ารู้ผลก่อนแล้ว ดูอย่างไรก็ไม่สนุกเท่า

ช่องไหนทำก่อน ได้เปรียบกว่า อย่าลืมสร้าง slogan เพื่อดึงความสนใจ
ยิ่งถ้ารายงานข่าวใช้คำ และให้น้ำเสียงอีกสักนิด คงไม่ผิด ให้ตื่นเต้น
ผู้ชมคงชอบกันทั่ว

======


อยากเห็นการพากย์กีฬาที่มีสองฝ่าย (แต่ไม่ได้มาทะเลาะกัน) มาร่วมมือกันสร้างสีสรรค์ รสชาติเชียร์กีฬาให้กับผู้ชมของทั้งสองฝ่าย คือ สองคนนี้เชียร์ฝ่ายตรงข้ามกัน แต่ร่วมมือกัน เหมือนแซววาที โต้วาที ที่สองฝ่ายใช้ฝีปาก แข่งกัน... ส่วนเรื่องนี้ก็แข่งกันเอาใจคนดู ทำมั้ย ไม่มีใครทำ....

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

15 - ไม่ควรออกเสียงว่า สิบเอ็ด, ยี่สิบเอ็ด, ......

คำพื้นฐาน มักเป็นคำสั้น --วลีเดียว-- ไม่ซ้ำ ออกเสียงชัด ในทุกภาษาทั่วโลก เช่น คำที่มีความหมายว่า พ่อ, แม่, หิว, กิน, หนี เป็นต้น

ตัวเลข 1-10 โดยมากก็เป็นคำที่มีวลีเดียว ในแทบทุกภาษา (มีบ้างที่ไม่ใช่วลีเดียว)
และมีเสียงที่ต่างกันชัดเจน

เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้? ทั้งที่ต่างประเทศ ต่างวัฒนธรรม ต่างความคิด

ธรรมชาติของภาษาทำให้เป็นเช่นนั้น คือ มนุษย์ต้องการความสะดวก ความสะดวกจึงเป็นเรื่องหลักของการใช้ภาษา เหนือการออกเสียงสะดวก หรือการออกเสียงชัดเจน.

คำว่า 'เอ็ด' ในภาษาไทย ในเรื่องของตัวเลข หมายถึง 1.

ปัญหาเพราะเสียงใกล้กัน

อยากถามท่านราชบัณฑิตฯ ว่า เพื่อการสื่อสารที่ชัดเจน และเร็ว เพื่อการมีเหตุผล และวินัยของภาษา เหตุใดเราจึงคงใช้คำว่า 'เอ็ด' ใน สิบเอ็ด ..... เก้าสิบเอ็ด? เพราะทำให้สับสนว่าเป็น 'เจ็ด' หากคนพูด พูดเบา หรือคนฟัง หูไม่ได้ หรืออยู่ห่างไกลกัน!

หลายสิบปีมาแล้ว บุคคลสำคัญท่านหนึ่งของเมืองไทย มีความเห็นว่า เราควรเลิกใช้คำว่า 'เอ็ด' ดังกล่าว ปัจจุบันมีแต่ทางทหารที่ไม่ใช้ เอ็ด ที่สับสน. ราชการก็ยังเพิกเฉย!



14 - ผิดพลาด: WHO, หนังสือพิมพ์, โทรทัศน์ และราชบัณฑิตยสถาน

ปัจจุบัน คนไทยกำลังสร้างความไม่เหมาะทางภาษาอีก โดยมีสื่อเป็นแรงผลักอย่างแรง
เกี่ยวกับคำว่า WHO.

ช่วง สาม-สี่ปีนี้ ภาษาพูด/เขียนข้างล่าง อาจสร้างปัญหาได้:
  • ผมว่าฮุนี่ดี
  • ผมชอบฮุ
  • I want to work for who.
  • ไอ วอนท์ ทู เวิรค์ ฟอร์ ฮู
  • ฮูประกาศว่า .......
  • Who announces that ....

สื่อ หนังสือพิมพ์, โทรทัศน์ และราชบัณฑิตยสถาน ควรอ่านต่อที่นี่