วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

ตำรามาตรฐานไวยากรณ์ภาษาไทย

คำพื้นฐานที่ใช้บ่อย เช่น กิน, กลัว, เร็ว, แม่, พ่อ ฯ รวมทั้งคำเรียกเลข เช่น 1, 2, 3, ..... ของทุกภาษา มักเป็นคำโดด พยางค์เดียว (มีบ้างที่เป็นคำสองพยางค์ หรือมากกว่า แต่คำที่เป็นภาษาพูดมักเป็นคำพยางค์เดียว). เหตุใดเป็นเช่นนั้น เหมือนกันแทบทุกภาษา? คำตอบคือ "ความสะดวก" ได้รับความสำคัญเหนือ "มาตรฐาน" โดยความสะดวก รวมความเร็วเข้าไว้ด้วย. ยิ่งน้อยพยางค์ ยิ่งได้รับความนิยม. ท่านรู้สึกอย่างไร หากคำ หนึ่ง, สอง, สาม... ต้องมีมากกว่า หนึ่งพยางค์?

ผมกำลังชี้ด้วยว่า การอ่านหนังสือที่เว้นวรรคไม่ดี การอ่านที่ต้องย้อน
ล้วนทำให้ใช้เวลาเกินเหตุ.
ภาษาเขียนก็เช่นกัน ยิ่งสั้น ยิ่งได้รับความนิยม
(หากไม่มีปัจจัยของอรรถรสของภาษา)


ไม่มีเว้นวรรค ทำให้อาจอ่านเป็น "ลดลงจอด ให้รถขึ้น" หรืออย่างอื่น
นั่นหมายความว่า ใช้เวลามากขึ้น.

สพาน หรือสะพาน?

สะพาน หรือสพาน? คงเดิม และคงไว้ คืออนุรักษ์ สะกดตามคุ้นเคย หรือตามดั้งเดิม?

ตัวอย่างการใช้ภาษาเขียน ที่ใช้เวลามากกว่าที่ควร. คนไทยพูดได้แต่ทำนองว่า "อื๋มม์?.......อ๋อ... เข้าใจล่ะ" คือ ต้องอ่านย้อน ซึ่งต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าที่ควร แต่คนไทยไม่พูดว่า "ผิดไวยากรณ์"
ประเด็นนี้ เป็นตัวอย่างที่ดี ในการบ่งชี้ว่า เราไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับไวยากรณ์
และเราไม่มีตำรามาตรฐานไวยากรณ์.




แม่คุณยายก็เกิดมาตาย!!!
มีได้มากกว่า 1 ความหมาย. เราไม่พูดว่าถูกไวยากรณ์กับเรื่องนี้.



"โรงพยาบาลรัฐ ก็ผิดเป็น แถมทำให้เกิดความยุ่งยาก ได้กันทั่วหน้า แทบทุกคนไข้ใหม่"

ผมแจ้ง รพ.แห่งหนึ่ง มาหลายรอบ รวมแล้วหลายเดือน ว่าภาษาไทยบนเอกสารนี้ไม่ถูก ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ผู้ป่วย หรือญาติต้องเดิน ต้องโทร ฯ ใช้เวลาเพื่อให้ทราบเรื่องที่เขียนบนเอกสารนี้.
รพ. ก็ยังไม่เปลี่ยน. ขอนำมาเป็นตัวอย่าง ว่า ภาษาไทยที่เขียนโดยไม่ระวังก็สร้างปัญหาได้. อธิบายได้ว่า เมื่ออ่านเอกสารแล้ว ผู้ป่วยเข้าใจ ว่าต้องดำเนินการหลายอย่าง. ที่ถูกแล้ว ต้องเปลี่ยนวลี "ขั้นตอนการรับบริการ" เป็น "ข้อแนะนำ." ความหมายต่างกันมาก และยังคงเป็นปัญหาไม่เลิก!





ตัวอย่างนี้เป็นเรื่องของการใชคำ. ท่านทราบหรือไม่?



4 ความคิดเห็น:

  1. วลีไทยที่ควรได้รับความสำคัญกว่า เช่น ฉันชอบปวดหัว เพราะทำให้มาตรฐานเปลี่ยน จริงมั้ยครับ

    ตอบลบ
  2. เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย. (1) ภาษาไทยได้สูญเสีย การใช้เครื่องหมายวรรคตอน เช่น โคมูตร และฟองมัน.

    (2) เครื่องหมายวรรคตอน เช่น , และ : ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ในภาษาไทย โดย ราชบัณฑิตยสถาน ตามพระราชดำริ ทั้งนี้ เพราะพระองค์ท่านเห็นความสำคัญ และประโยชน์จึงทรงพระดำริให้ใช้ได้. คนไทยส่วนใหญ่ใช้ในรูปแบบที่ต่างไปจากสากล คือ การเว้นวรรคที่ใช้ร่วมกับเครื่องหมายเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อใช้เครื่องหมายดังกล่าว ในภ.อังกฤษ ก็ใช้ผิดกันบ่อย เช่น ควรเป็น "ผลไม้ไทย: มังคุด, ทุเรียน, มะม่วง." แต่เขียนเป็น ""ผลไม้ไทย : มังคุด , ทุเรียน , มะม่วง." ซึ่งเปลืองพื้นที่ และช้ากว่า. แม้แต่ในสื่อโทรทัศน์ที่มีตัวอักษรวิ่ง ก็ใช้กันผิด. กลายเป็นว่า คนไทยจำนวนหนึ่งใช้ภาษาเขียนอังกฤษที่ผิด เพราะคุ้นเคยกับรูปแบบที่ใช้ในภาษาไทย.

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ20 เมษายน 2552 เวลา 19:25

    น่านนะซิ... อยากให้มีการสร้างมาตรฐานภ.ไทย ที่ดีขึ้น จะได้ภูมิใจขึ้นอีก ชัดเจนขึ้น สะดวกขึ้น

    ตัวอย่างหนึ่งคือ
    ข่าวรายงานว่า "ตำรวจตรวจสอบแล้ว พบว่า เป็นรถคนละคันกัน"

    ลุงขอเสนอว่าน่าจะเป็น "ตำรวจตรวจสอบแล้ว พบว่า เป็นรถต่างคันกัน"

    ตอบลบ
  4. สื่อเขียนว่า "มก.ชี้ไวรัสในหมูคนละสายพันธุ์ที่แพร่ในคน"

    ที่ดีกว่าน่าจะเป็น "มก.ชี้ไวรัสในหมูต่างสายพันธุ์กับที่แพร่ในคน"

    อ้างอิง:
    http://lh5.ggpht.com/_dbov4xgqTy4/SfgHwAjET0I/AAAAAAAAA_E/Ejpiav08RSM/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C.jpg

    ตอบลบ

Be honest & happy :-)